งานประเพณีใส่ขันดอกบูชาเสาอินทขิล วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ ประจำปี 2557

วัดเจดีย์หลวง1

ชวนร่วมงานประเพณีใส่ขันดอก บูชาอินทขีล ประจำปี 2557 ณ วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร ในวันที่ 25-31 พฤษภาคม 2557 และในวันที่ 1 มิถุนายน 2557 เวลา 10.00 น. พิธีทำบุญออกอินทขีล จากนั้น เวลา 15.00 น. พิธียกฉัตรวิหารอินทขีล ค่ะ

ขันดอก

กำหนดการจัดงาน ประเพณีใส่ขันดอกบูชาเสาอินทขิล(หลักเมืองเชียงใหม่) ประจำปี 2557
ณ วัดเจดีย์หลวง วรวิหาร ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 25 พ.ค.- 1 มิ.ย. 2557

วัดเจดีย์หลวง2

วันที่ 25 พ.ค. 2557 แรม 12 ค่ำ เดือน 8 เหนือ
เวลา 13.30 น. : คณะข้าราชการ ผู้บริหารส่วนท้องถิ่น พนักงานเทศบาล ศรัทธาประชาชนชาวเชียงใหม่ พร้อมกัน ณ วัดเจดีย์หลวง วรวิหาร ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
เวลา 14.00 น. : อัญเชิญพระพุทธรูปฝนแสนห่า พร้อมเครื่องบูชาอินทขิล ออกจากวัดเจดีย์หลวง วรวิหาร เลี้ยวซ้ายไปตามถนนพระปกเกล้า ผ่านพระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ เลี้ยวขวาไปตามถนนราชวิถี เข้าสู่ถนนช้างม่อยตัดใหม่-ถนนท่าแพ-ถนนราชดำเนิน ถึงสี่แยกกลางเวียง เลี้ยวซ้ายตามถนนพระปกเกล้า เข้าสู่วัดเจดีย์หลวง วรวิหาร

วัดเจดีย์หลวง3

เวลา 15.00 น. : พิธีเปิดงานประเพณี โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่
– นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ กล่าวรายงาน
– ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ประธานทำพิธีเปิด โดยลั่นฆ้องชัย 9 ครั้ง
– พระสงฆ์ในวิหารอินทขิล เจริญชัยมงคล คาถา
– ประธาน จุดธูปเทียนบูชาและสรงน้ำพระพุทธรูปฝนแสนห่า
– ประธานจุดธูปเทียนบูชาและสรงน้ำเสาอินทขิล
– ประธานนำประชาชนใส่ขันดอก
เวลา 17.00 น. : พระสงฆ์ 9 รูปเจริญพระพุทธมนต์ในวิหารเสาอินทขิล
– ปี่พาทย์พื้นเมืองบรรเลงเพลงฟ้อนบูชาเสาอินทขิล
– การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านล้านนา
วันที่ 25 พ.ค.- 1 มิ.ย. 2557
เวลา 08.00 น. : เป็นต้นไป : เปิดโอกาสให้สาธุชนใส่ขันดอก,สรงน้ำพระพุทธรูปฝนแสนห่า,ใส่บาตร 108,ปิดทองพระประจำวันเกิด,ไหว้พระพุทธอัฏฐารส,บูชาพระธาตุเจดีย์หลวง

วัดเจดีย์หลวง4

วัดเจดีย์หลวง5

เวลา 17.00 น. : พระสงฆ์ 9 รูปเจริญพระพุทธมนต์ในวิหารเสาอินทขิล
เวลา 18.00 น. : การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านล้านนา

วัดเจดีย์หลวง7

วัดเจดีย์หลวง8
กำหนดการจัดงาน พิธียกฉัตรหลังคาวิหารเสาอินทขิล หลักเมืองเชียงใหม่ณ วัดเจดีย์หลวง วรวิหาร ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
1

วันที่ 1 เดือน มิ.ย. 2557 ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 9 เหนือ ทำบุญออกอินทขิล
เวลา 10.00 น. : พระสงฆ์ 108 รูป เจริญพระพุทธมนต์
– ถวายไทยทาน/ถวายภัตตาหารเพล
เวลา 15.00 น. : พิธียกฉัตรหลังคาวิหารเสาอินทขิล หลักเมืองเชียงใหม่
– พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา

วัดเจดีย์หลวง9

วัดเจดีย์หลวง10

วัดเจดีย์หลวง12

พิธีใส่ขันดอกบูชาอินทขิล เสาอินทขิลเป็นเสาหลักเมืองที่ สำคัญของเมืองเชียงใหม่

เป็นที่เคารพสักการะและนับถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นที่รวมวิญญาณของชาวเมืองและบรรพบุรุษในอดีต

เป็นปูชนียสถานที่สำคัญ ในสมัยก่อนได้มีการทำพิธีสักการบูชาเสาอินทขิลเป็น ประจำทุกปี

การทำพิธีดังกล่าวจะทำในปลายเดือน 8 เหนือข้างแรมแก่ ในวันเริ่มทำพิธีนั้น พวกชาวบ้านชาวเมืองทั้งผู้เฒ่าผู้แก่

หนุ่มสาวจะพากันนำเอาดอกไม้ธูปเทียน น้ำขมิ้นส้มป่อยใส่พานหรือภาชนะไปทำการสรงสักการะ

การทำพิธีดังกล่าวนี้มักจะเริ่มในวันแรม 12 ค่ำ เดือน 8 เหนือ ไปแล้วเสร็จเอาในวันขึ้น 3 ค่ำเดือน 9 เหนือ

เป็นประจำทุกปีจึงเรียกว่า “ประเพณีใส่ขันดอกอินทขิล” สมัยก่อนการจัดงานประเพณีนี้

เป็นหน้าที่ของเจ้าผู้ครองนครและข้าราชบริพาร แต่ปัจจุบันทุกภาคส่วนทั้งส่วนราชการ

และประชาชนชาวเชียงใหม่ได้ร่วมมือร่วมใจกันจัดประเพณีนี้ขึ้นเป็นเวลานานถึง 7 วัน

ของงาน ชาวเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียงทั้งผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมือง

และนอกเมืองต่างพากันนำข้าวตอก ดอกไม้ ธูปเทียน น้ำอบน้ำหอม

มาบูชาเสาอินทขิลและพระพุทธรูปฝนแสนห่ากันอย่างเนืองแน่นทุกปี

สำหรับกิจกรรมประเพณีใส่ขันดอกบูชาเสาอินทขิล ตามประเพณีโบราณ พิธีนี้

กระทำโดยการจุดธูปเทียนบูชาอินทขิลกับรูปกุมภกรรณและฤาษีทั้งนี้

เพื่อให้บ้านเมืองอยู่สงบสุขร่มเย็น วิหารอินทขิลจะเปิดให้ประชาชนเข้าไปสักการบูชาตั้งแต่เช้า

ซึ่งจะต้องทำพิธีพลีกรรมเครื่องบูชาดังนี้ การบูชาอินทขิลเครื่องบูชามี ข้าวตอกดอกไม้

และเทียน 8 สวย พลู 8 สวย ดอกไม้เงิน 1 ผ้าขาว 1 รำ ช่อขาว 8 ผืน มะพร้าว 2 แขนง กล้วย 2 หวี อ้อย 2 เล่ม ข้าว 4 ควัก (กระทง)

แกงส้ม แกงหวาน อย่างละ 4 โภชนะอาหาร 7 อย่าง ใส่ขันบูชา ส่วนการบูชากุมภกรรณ 2 ตน

ในวัดเจดีย์หลวงให้แต่งหอไม้อ้อต้นละหอ เครื่องบูชามีเทียนเงิน 4 เล่ม เทียนคำ 4 เล่ม ช่อขาว 8 ผืน ช่อแดง 8 ผืน

ฉัตรขาว 2 ฉัตรแดง 2 มะพร้าว 4 แขนง กล้วย 4 หวี อ้อย 4 เล่ม ไหเหล้า 4 ไห ปลาปิ้ง 4 ตัว เนื้อสุก 4 ชิ้น

เนื้อดิบ 4 ชิ้น แกงส้ม แกงหวาน อย่างละ 4 เบี้ย 1300 หมก 1000 ผ้าขาว 1 รำ อาสนะ 12 ที่

แผนที่วัดเจดีย์หลวง

พิกัด GPS
ละติจูด: 18.7869625
ลองจิจูด: 98.9865533
คลิกเปิด Google Maps

ขอขอบคุณรูปภาพจาก : cm108.com
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : cm108.com

Comments

comments

Check Also

วัดหัวข่วง เมืองน่าน

Facebook Twitter Google+ Pinterest วัดหัวข่วง จะอยู่ด้านข้างของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน และเยื้องกับวัดวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร วัดหัวข่วงเป็นวัดที่เก่าแก่อีกวัดหนึ่งของเมืองน่าน มาถึงน่านแล้วต้องไปไหว้พระที่วัดหัวข่วง ประวัติวัดหัวข่วง วัดหัวข่วง คำว่าข่วงหมายถึงลานกว้าง วัดหัวข่วงก็คือวัดที่อยู่หน้าลานกว้าง เป็นวัดเก่าแก่ที่ตั้งอยู่ในเขตหัวแหวน ย่านประวัติศาสตร์ของจังหวัดน่านใกล้กับหอคำอันเป็นตำหนักของเจ้าผู้ครองนครน่าน  มีวิหาร และเจดีย์ …