วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร พระอารามหลวง เมืองน่าน

เมื่อไหว้สักการะวัดภูมิทร์แล้วเดินไปอีกนิด จะเจอกับวัดพระวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร จะอยู่บริเวณใกล้เคียงกัน และตรงข้ามกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน

วัดพระธาตุช้างค้ำ1

ประวัติวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร

วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร เดิมชื่อ วัดหลวงกลางเวียง เจ้าผู้ครองนครน่าน พญาภูเข่ง เป็นผู้สร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ.1949 พระวิหารหลวงวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร เป็นวิหารขนาดใหญ่ รูปทรง สร้างตามสถาปัตยกรรม ทางภาคเหนือ ลักษณะภายในโอ่โถง ด้านหน้ามีสิงห์คู่ ยืนตรงเชิงบันได ด้านละตัว มีทางเข้า 3 ทาง ประตูกลาง ทำเป็นประตูใหญ่ และประตูเล็ก อยู่ด้านซ้ายและด้านขวา มีทางขึ้นเป็นประตูเล็ก ๆ ตรงข้ามพระประธาน ด้านทิศตะวันออกและตะวันตกอีก 2 ข้าง ทำหลังคาซ้อนกัน 2 ชั้น มุขลดด้านหน้า และด้านหลัง หน้าบัน ตีด้วยแผ่นกระดานเรียงต่อกัน แล้วประดับที่ขอบเสา ด้านหน้าทุกต้น ตามลักษณะ สถาปัตยกรรมล้านนาไทย ภายในพระวิหารกว้างขวาง มีเสาปูนกลมขนาดใหญ่ ขนาด 2 คนโอบรอบ จำหลัก ลวดลายปูนปั้นนูนสูงไว้ เหนือจากระดับพื้นพระวิหาร 1.50 เมตร เป็นลวดลาย กนกระย้าย้อย เหมือนลวดลาย ที่เสาในวิหารวัดภูมินทร์

วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร11

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน

พระธาตุช้างค้ำ1

ภายในวัดประดิษฐาน เจดีย์ช้างค้ำ ซึ่งเป็นศิลปสมัยสุโขทัย อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 20 รอบเจดีย์ มีรูปปั้นช้างปูนปั้น เพียงครึ่งตัวประดับอยู่โดยรอบ นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปทองคำปางลีลา คือ พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี ซึ่งเป็นทองคำ 65 % สูง 145 เซ็นติเมตร ยอดพระโมฬีทำเสริมเมื่อ พ.ศ. 2442 หนัก 69 บาท เจ้างั่วฬารผาสุม เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 14 แห่งราชวงค์ภูคา เป็นผู้สร้าง เมื่อวันพุธ เดือน 6 เหนือ พ.ศ. 1969 เป็นศิลปะสุโขทัย ประดิษฐานอยู่ที่หอพระไตรปิฎก ใหญ่ที่สุดในประเทศ

พระธาตุช้างค้ำ2

พระธาตุเจดีย์ช้างค้ำวรวิหาร เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีลิกธาตุไว้ภายใน นับเป็น ปูชนียสถาน สำคัญ เป็นเจดีย์ ที่ได้รับอิทธิพลทางด้านศิลปะสุโขทัย จากเจดีย์ทรงลังกา คือเจดีย์วัดช้างล้อมนั่นเอง พระธาตุเจดีย์ สร้างด้วยอิฐถือปูน มีสัณฐานเป็นรูปสี่เหลื่ยมจัตุรัส ซ้อนกัน 3 ชั้น กว้างด้านละ 9 วา ฐานจากชั้นแรกสูงถึงชั้นสอง มีรูปช้างค้ำอยู่ในลักษณะ เหมือนฐานรองรับไว้ด้านละ 6 เชือก รวมทั้งหมด 24 เชือก ช้างแต่ละตัว โผล่ส่วนหัว ลอยออกมาครึ่งตัว ขาหน้าทั้งคู่ ยื่นพ้นออกมาจากเหลี่ยมฐาน เหนือขึ้นไปเป็นฐานปัทม์ (ฐานบัว) ซ้อนกัน 3 ชัน และเป็นองค์ระฆังแบบลังกา ต่อจากองค์ระฆัง ทำเป็นฐานเขียง รองรับมาลัยลูกแก้ว ลดหลั่นกันไป เป็นส่วนยอด ปัจจุบันพระธาตุเจดีย์ช้างค้ำ ได้รับการบูรณะซ่อมแซม และหุ้นด้วยแผ่นทองเหลืองทั้งองค์ มีความสวยงามมาก

พระธาตุช้างค้ำ3

วิหารพระนันทบุรีศรีศากยมุนี   วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร หรือวัดหลวงกลางเวียง เป็นวัดหลวงประจำเมืองแต่ในอดีต สร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 1949 โดยพญาภูเข่ง เจ้าผู้ครองเมืองน่าน และได้รับการบูรณะอีกหลายยุคหลายสมัย โดยในปี พ.ศ. 1969 เจ้างั่วผาสุม (เจ้าผู้ครองเมืองน่านองค์ที่ 14) โปรดให้สร้างพระพุทธนันทศรีศากยมุนี ซึ่งเป็นพระพุทธรูปทองคำ ต่อมาในปี พ.ศ. 2453 พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช (เจ้าผู้ครองเมืองน่านองค์ที่ 63) ทรงรับสั่งให้สร้างหอพระไตรปิฎกขึ้น เพื่อเป็นที่เก็บและรวบรวมใบลานจารึกอักษรธรรมต่างๆ โบราณสถานภายในวัดส่วนใหญ่มีเอกลักษณ์เฉพาะแบบพื้นเมืองน่าน

พระธาตุช้างค้ำ4

พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี คือพระพุทธรูปลีลาสมัยสุโขทัย หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์อย่างดีมีส่วนทองผสมประมาณ 65 เปอร์เซนต์ ส่วนสูง 145 เซนติเมตร มีข้อความจารึกไว้ที่ฐานว่าพระเจ้าลารผาสุมเป็นผู้สร้าง เมื่อวันพุธ เดือน 6 เหนือ เดือน 8 ใต้ จุลศักราช 788 พ.ศ. 1969 เดิมลงรักพอกปูน หุ้มไว้และประดิษฐานอยู่ภายในโขรพระเจดีย์ทิพย์ด้านทิศตะวันออก เพิ่งพบเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 โดยนายไกรศรี นิมมาน-เหมินทร์ และนายอเล็กซานเดอร์ เบราว์ กริสโวสต์ นักโบราณคดีชาวอเมริกัน ซึ่งมาศึกษาและค้นคว้าศิลปกรรมในจังหวัดน่าน ได้ตรวจพระพุทธรูปองค์นี้แล้ววินิจฉัยว่า ไม่ใช่พระพุทธรูปปูนปั้น จึงใช้ฆ้อนกระเทาะปูนที่หุ้มแตกออก ปรากฏว่าพระวรการข้างในทารักทับไว้อีกชั้นหนึ่ง เมื่อขูดดูจนเห็นเนื้อทองสุกปลั่ง ได้เคาะเอาปูนออกหมดทั้งองค์ตกแต่งขัดสีใหม่เป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะสวยงามมาก

แผนที่วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร

พิกัด GPS
ละติจูด: 18.7763245
ลองจิจูด: 100.772137
คลิกเปิด Google Maps

Comments

comments

Check Also

วัดพญาวัด เมืองน่าน

Facebook Twitter Google+ Pinterest วัดพญาวัด ของเมืองน่าน เป็นวัดที่จะถึงก่อนวัดพระธาตุเขาน้อย ซึ่งสมัยก่อนถือว่าบริเวณวัดเป็นเขตกลางเมืองของเมืองน่าน ถ้าจะไปวัดพระธาตุเขาน้อย แนะนำให้มาไหว้พระที่วัดพญาวัดก่อนเลย ประวัติวัดพญาวัด วัดพญาวัด แต่เดิมบริเวณที่ตั้งวัดเป็นเขตศูนย์กลางเมืองน่านในสมัยที่ย้ายเมืองจากพระบรมธาตุแช่แห้งมาตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่าน สถูปเจดีย์สร้างด้วยศิลาแลงในสมัยพระนางจามเทวี มีลักษณะคล้ายเจดีย์กู่กุด …