วัดพญาวัด ของเมืองน่าน เป็นวัดที่จะถึงก่อนวัดพระธาตุเขาน้อย ซึ่งสมัยก่อนถือว่าบริเวณวัดเป็นเขตกลางเมืองของเมืองน่าน ถ้าจะไปวัดพระธาตุเขาน้อย แนะนำให้มาไหว้พระที่วัดพญาวัดก่อนเลย
ประวัติวัดพญาวัด
วัดพญาวัด แต่เดิมบริเวณที่ตั้งวัดเป็นเขตศูนย์กลางเมืองน่านในสมัยที่ย้ายเมืองจากพระบรมธาตุแช่แห้งมาตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่าน สถูปเจดีย์สร้างด้วยศิลาแลงในสมัยพระนางจามเทวี มีลักษณะคล้ายเจดีย์กู่กุด จังหวัดลำพูน เป็นทรงซุ้มสี่เหลี่ยมซ้อนกัน 5 ชั้น แต่ละชั้นประดิษฐานพระพุทธรูปยืนซึ่งได้รับอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัยดังพบที่ สถูปเจดีย์วัดมหาธาตุจังหวัดสุโขทัย ยอดซุ้มก่ออิฐวงโค้งเป็นรูปแบบการก่อสร้างสมัยพระเจ้าติโลกราชแห่งนคร เชียงใหม่แสดงให้เห็นว่ามีการบูรณะในสมัยนั้น ซึ่งเป็นสมัยที่อิทธิพลของศิลปะเชียงใหม่ได้เข้ามาแทนที่ศิลปะสุโขทัยแล้ว
ด้านหน้าพระอุโบสถจิตรกรรมปูนปั้นพญานาค
ด้านหลังพระอุโบสถจิตรกรรมปูนปั้นตัวมกร หรือ ตัวมอม
ในพระอุโบสถประดิษฐาน “พระเจ้าฝนแสนห่า” ซึ่งชาวเมืองน่านเคยนำมาแห่ขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล นอกจากนั้นยังมีธรรมาสน์แกะสลักฝีมือช่างพื้นเมืองน่านที่เก่าที่สุดเท่าที่ เคยพบ สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยเจ้าอัตถวรปัญโญ ราวครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ 24
เจดีย์จามเทวี หรือพระธาตุวัดพญาวัด ปูชนียสถานที่เก่าแก่ และสำคัญแห่งหนี่ง ของจังหวัดน่าน ด้วยช่าง ได้นำรูปแบบ มาจาก จังหวัดลำพูน ในยุคที่ล้านนากำลัง รุ่งเรืองถึงขีดสุด ทั้งทางศาสนาจักรและอาณาจักร และเมืองน่าน ก็ตกอยู่ภายใต้อิทธิพล ของล้านนาอย่างเต็มที่
แผนที่วัดพญาวัด
พิกัด GPS
ละติจูด: 18.7708602
ลองจิจูด: 100.763021
คลิกเปิด Google Maps